ศัพท์บาลี

ตารางคำศัพท์ในระบบ ปัจจุบันมีจำนวน 621 คำ

No. คำบาลี ธาตุ คำแปล สาระเพิ่มเติม
1 อิภ อิ ช้าง

- เอติ คจฺฉตีติ อิโภ
ผู้เดินไปเรื่อยๆ
(อิ ธาตุในความหมายว่าไป, เป็นไป
ภ ปัจจัย)

- อิติ กามยติ ตรุณติณจฺโฉทกานีติ อิโภ
ผู้ปรารถนาหญ้าอ่อนและน้ำใส
(อิ ธาตุในความหมายว่าปรารถนา ภ ปัจจัย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

2 อิพฺภ อิ คนมีทรัพย์, ผู้มั่งคั่ง

- อิภํ ธนํ ปฏิคฺคณฺหิตุํ อรหตีติ อิพฺโภ
ผู้สมควรรับทรัพย์
(อิภ บทหน้า ว ปัจจัย, ลบ อ ที่ ภ,
แปลง ว เป็น พ, กลับ ภฺพ เป็น พฺภ)

- อิติ กามยติ ธนนฺติ อิพฺโภ
ผู้ปรารถนาทรัพย์
(อิ ธาตุในความหมายว่าปรารถนา
ภ ปัจจัย, ซ้อน พฺ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

3 อินฺธน เอธ, อินฺธ ฟืน, เชื้อไฟ, เชื้อเพลิง

- เอธยเตติ อินฺธนํ
วัตถุที่ยังไฟให้เจริญ คือให้ลุกไหม้ขึ้น
(เอธ ธาตุในความหมายว่าเจริญ นิคหิตอาคม
ยุ ปัจจัย, พฤทธิ์ เอ เป็น อิ, แปลงนิคหิตเป็น นฺ, ยุ เป็น อน)

- อินฺธเต อคฺคิ อเนนาติ อินฺธนํ
วัตถุเป็นเครื่องสว่างแห่งไฟ
(อินฺธ ธาตุในความหมายว่าสว่าง ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

4 อินฺทุ อิทิ ดวงจันทร์

- อินฺทติ นกฺขตฺตานํ ปรมิสฺสริยํ กโรตีติ อินฺทุ
ดาวที่เป็นใหญ่กว่าดวงดาวทั้งหลาย
(อิทิ ธาตุในความหมายว่าเป็นใหญ่ นิคหิตอาคม
อุ ปัจจัย, แปลงนิคหิตเป็น นฺ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

5 อินฺทีวร อิทิ ต้นราชพฤกษ์, ต้นคูน, บัวเขียว

- อินฺทติ วาตหนเนน ปรมิสฺสริยํ กโรตีติ อินฺทีวโร
ต้นไม้ที่เป็นใหญ่ทางกำจัดโรคลม
(อิทิ ธาตุในความหมายว่าเป็นใหญ่ นิคหิตอาคม
อีวร ปัจจัย, แปลงนิคหิตเป็น นฺ)

- อินฺทตีติ อินฺที ลกฺขี, ตสฺสา วรํ อินฺทีวรํ
ดอกบัวที่ประเสริฐสุดสำหรับความเป็นใหญ่ คือความโชคดี
(อิทิ+นิคหิต+อ+อี+วร)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

6 อินฺทาวุธ รุ้งกินน้ำ

- อินฺทสฺสอาวุธํ อินฺทาวุธํ
อาวุธของพระอินทร์
(อินฺท+อาวุธ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

7 อินฺทฺริย อิทิ อินทรีย์, ผู้เป็นใหญ่, ร่างกาย, จิตใจ, อายตนะ, กำลัง, ธรรมที่เป็นใหญ่ (เช่น จักขุนทรีย์)

- อินฺทติ ปรมิสฺสริยํ กโรตีติ อินฺโท (อตฺตา), ตสฺส ลิงฺคํ อินฺทฺริยํ
ผู้เป็นใหญ่
(อิทิ ธาตุในความหมายว่าเป็นใหญ่ นิคหิตอาคม
อิย ปัจจัย, ลง ร อาคม, แปลงนิคหิตเป็น นฺ)

- สมฺมาสมฺพุทฺโธ ปรมิสฺสริยภาวโต อินฺโท, เตน สิฏฺฐานีติ อินฺทฺริยานิ
ชื่อว่าอินทรีย์เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นอินทะ
เพราะความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดทรงสั่งสอนไว้แล้ว
(อินฺท ศัพท์+ร อาคม+อิย ปัจจัย)

- อินฺเทน ภควตา ยถาภูตโต ปกาสิตานิ อภิสมฺพุทฺธานิ จาติ อินฺทฺริยานิ
ชื่อว่าอินทรีย์เพราะพระผู้ทรงเป็นอินทะ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้แล้วและตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง (เหมือนวิ.ต้น)

- อินฺเทน ภควตา กานิจิ โคจราเสวนาย กานิจิ ภาวนาเสวนาย เสวิตานีติ อินฺทฺริยานิ
ชื่อว่าอินทรีย์เพราะพระผู้ทรงเป็นอินทะ คือพระผูู้มีพระภาคเจ้าทรงเสพแล้วโดยทางอารมณ์บ้าง ทางภาวนาบ้าง
(เหมือนวิ.ต้น)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

8 อินฺทสาล ต้นอ้อยช้าง, ต้นปีบ

- สาลานํ รุกฺขานํ อินฺโท ราชา อินฺทสาโล
เจ้าแห่งต้นไม้ทั้งหลาย
(อินฺท+สาล)

- อินฺทสฺส สกฺกสฺส สาโลติ อินฺทสาโล
ต้นไม้ของพระอินทร์
(อินฺท+สาล)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

9 อินฺทวารุณี เถาขี้กา

- อินฺทสฺส สกฺกสฺส วารุณี สุรา อินฺทวารุณี
ของเมาของพระอินทร์
(อินฺท+วารุณี)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

10 อินฺทยว ไม้มวกเหล็ก, ผลมวกเหล็ก (ต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำยาได้)

- อินฺทสฺส สกฺกสฺส ยโว ธญฺญวิเสโส อินฺทยโว
ธัญพืชชนิดหนึ่งของพระอินทร์
(อินฺท+ยว)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

11 อินฺทปตฺต, อินฺทปตฺถ ปา นครอินทปัตถ์ (เมืองหลวงของแคว้นกุรุ)

- อินฺโท ปรมิสฺสริยภาวํ ปาปุณาติ เอตฺถาติ อินฺทปตฺตํ
เมืองที่คนชื่ออินทร์ถึงความเป็นใหญ่
(อินฺท บทหน้า ปา ธาตุในความหมายว่าถึง
ต ปัจจัย, รัสสะ อา เป็น อ, ซ้อน ตฺ)

- อินฺโท สกฺโก เทวราชา ปตฺโต เอตฺถาติ อินฺทปตฺตํ
เมืองที่ท้าวสักกะเทวราชเสด็จถึง
(อินฺท+ปตฺต)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

12 อินฺทธนุ รุ้งกินน้ำ

- อินฺทสฺส ธนุ โลกสงฺเกตวเสนาติ อินฺทธนุ
คันธนูของพระอินทร์
(อินฺท+ธนุ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

13 อินฺทชาลิก นักเล่นกล, นักมายากล

- อินฺทชาเล นิยุตฺโต อินฺทชาลิโก
ผู้ประกอบในวิชามายากล
(อินฺทชาล+อิก)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

14 อินฺทขีล ขิป เสาเขื่อน, หลักเมือง, เสาอินทขีล, ธรณีประตู

- ขิลติ ชนานํ คมนํ ปฏิฆาเตตีติ ขีโล,
อินฺทสฺส สกฺกสฺส ขีโลเยว ขีโล กณฺฏโก อินฺทขีโล

สิ่งที่ขัดขวางการเดินของคนชื่อว่าขิละ
ขิละนั่นแหละเป็นขวากหนามของพระอินทร์จึงชื่อว่าอินทขีละ
(อินฺท+ขีล)

- อินฺโทเยว ปาทํ ขิปติ เอตฺถาติ อินฺทขีโล
ที่ที่พระอินทร์เหยียดเท้าข้ามไป
(อินฺท บทหน้า ขิป ธาตุในความหมายว่าเหยียดออก
อ ปัจจัย, พฤทธิ์ อิ เป็น อี, แปลง ป เป็น ล, ลบสระหน้า)

- อึ คมนํ ททาตีติ อินฺโท, ตตฺถ ฐปิโต ขีโล กณฺฏโกติ อินฺทขีโล
ขวากหนามที่เขาวางไว้ที่ประตูซึ่งให้คนเดินผ่านไป
หมายถึงขวางประตูไว้มิให้ผ่านไปโดยง่าย
(อินฺท+ขีล)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

15 อินฺท อิทิ, อินฺท จอม, เจ้า, ผู้ยิ่งใหญ่, ผู้เป็นใหญ่, พระอินทร์

- อินฺทติ ปรมิสฺสริยํ กโรตีติ อินฺโท
ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง
(อิทิ ธาตุในความหมายว่าเป็นใหญ่ยิ่ง นิคหิตอาคม
อ ปัจจัย, แปลงนิคหิตเป็น นฺ)

- อินฺทติ ปรมิสฺสริเยน ยุชฺชเตติ อินฺโท
ผู้ประกอบด้วยความยิ่งใหญ่
(อินฺท ธาตุในความหมายว่าประกอบ
อ ปัจจัย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

16 อิธุม อิธ ฟืน, เชื้อไฟ, เชื้อเพลิง

- เอธยตีติ อิธุมํ
สิ่งที่ยังไฟให้ลุกโพลง
(อิธ ธาตุในความหมายว่าเจริญ
อุม ปัจจัย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

17 อิทฺธิ อิธ ฤทธิ์, ความสำเร็จ, ความเจริญ

- อิชฺฌนฺติ สตฺตา เอตาย อิทฺธา วุทฺธา อุกฺกํสกตา โหนฺตีติ อิทฺธิ
เหตุเป็นเครื่องเจริญแห่งสัตว์โลก
(อิธ ธาตุในความหมายว่าเจริญ
อิ ปัจจัย, ซ้อน ทฺ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

18 อิทิ ยช ผู้บูชายัญ

- ยชนสีโล อิทิ
ผู้มีปกติบูชา
(ยช ธาตุในความหมายว่าบูชา
อิ ปัจจัย, แปลง ย เป็น อิ, ช เป็น ท)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

19 อิตฺถี อิสุ ผู้หญิง, สตรี

- นเร อิจฺฉตีติ อิตฺถี
ผู้ปรารถนาชาย
(อิสุ ธาตุในความหมายว่าปรารถนา, ชอบใจ
ถี ปัจจัย, แปลง สฺ เป็น ตฺ หรือลง ตฺถี ปัจจัย,
ลบที่สุดธาตุ)

- นเรหิ อิจฺฉิยตีติ อิตฺถี
ผู้อันชายปรารถนา
(เหมือนวิ.ต้น)

- นเร อิจฺฉาเปตีติ อิตฺถี
ผู้ทำให้ชายปรารถนา
(เหมือนวิ.ต้น)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

20 อิตฺถาคาร ตำหนักใน, เรือนพระสนม

- ราชิตฺถีนมคารํ อิตฺถาคารํ
เรือนของพวกผู้หญิงของพระราชา
(อิตฺถี+อคาร, ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

หนังสือสวดมนต์ข้ามปี