ศัพท์บาลี

ตารางคำศัพท์ในระบบ ปัจจุบันมีจำนวน 621 คำ

No. คำบาลี ธาตุ คำแปล สาระเพิ่มเติม
1 อิตฺตร อิ เลว, ทราม, ต่ำช้า, ชั้นต่ำ

- หีนภาวํ เอติ คจฺฉตีติ อิตฺตโร
ผู้ดำเนินไปสู่ความเลว
(อิ ธาตุในความหมายว่าไป, เป็นไป
ตรณฺ ปัจจัย, ลบ ณฺ, ซ้อน ตฺ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

2 อิติหาาส อส พงศาวดาร, คัมภีร์ต้นแบบ

- อิติโห อตฺถิ อสฺมินฺติ อิติหาโส
คัมภีร์เป็นที่มีบทประพันธ์ต้นแบบ
(อิติห บทหน้า อส ธาตุในความหมายว่ามี, เป็น
อ ปัจจัย, ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง)

- อสติ วิชฺชตีติ อโส, อิติห อโส เอตสฺมินฺติ อิติหาโส
คัมภีร์เป็นที่มีว่าเป็นดังนี้
(อิติห+อส, ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

3 อิติห ประเพณี, ธรรมเนียม, คำสั่งสอน, บทประพันธ์ต้นแบบ

- อิติห ปุพฺพาจริเยหิ วุตฺตมิทนฺติ กเถตพฺพํ วจนํ อิติหํ
คำที่ควรกล่าวได้ว่าข้อนี้อันบูรพาจารย์กล่าวไว้แล้ว
(อิติห+ณ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

4 อิณายิโก อิ ลูกหนี้

- อิณํ คณฺหาตีติ อิณายโก
ผู้ถือเอาหนี้
(อิณ บทหน้า อายิก ปัจจัย)

- อิณํ อายติ ปวตฺเตตีติ อิณายโก ผูู้
ยังหนี้ให้เป็นไป
(อิณ บทหน้า อิ ธาตุในความหมายว่าเป็นไป
ณฺวุ ปัจจัย, พฤทธิ์ อิ เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อาย, ณฺวุ เป็น อก, ลบสระหน้า)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

5 อิณ อิ หนี้, หนี้สิน, สินเชื่อ

- เอติ วุฑฺฒึ คจฺฉตีติ อิณํ
สิ่งที่ถึงความงอกงาม
(อิ ธาตุในความหมายว่าไป, ถึง ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

6 อิฏฺฐกา อิสุ อิฐ, ก้อนอิฐ

- อิจฺฉิยตีติ อิฏฺฐกา
วัสดุที่คนปรารถนา
(อิสุ ธาตุในความหมายว่าปรารถนา
ฐก ปัจจัย อา อิตฺ., แปลง สฺ เป็น ฏฺ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

7 อิฏฺฐ อิสุ, อิส สิ่งที่น่าปรารถนา

- อิจฺฉิตพฺพนฺติ อิฏฺฐํ
สิ่งที่พึงปรารถนา
(อิสุ ธาตุในความหมายว่าปรารถนา ต ปัจจัย, แปลง สฺต เป็น ฏฺฐ)

- เอสิตพฺพนฺติ อิฏฺฐํ
สิ่งที่พึงแสวงหา
(อิส ธาตุในความหมายว่าแสวงหา
ต ปัจจัย, แปลง สฺต เป็น ฏฺฐ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

8 อิช ยช ผู้บูชายัญ

- ยชตีติ อิโช
ผู้บูชา
(ยช ธาตุในความหมายว่าบูชา
อ ปัจจัย, แปลง ย เป็น อิ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

9 อิงฺคุที อิงฺค ต้นสำโรง

- อิงฺคติ คจฺฉตีติ อิงฺคุที
ต้นไม้ที่เป็นไปปกติ
(อิงฺค ธาตุในความหมายว่าเป็นไป อุท ปัจจัย อี อิตฺ.)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

10 อิงฺค อิงฺค กิริยา, อาการ, ท่าทาง

- อิงฺคติ ชานาติ อเนนาติ อิงฺโค
อาการเป็นเครื่องไป
(อิงฺค ธาตุในความหมายว่าไป อ ปัจจัย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

11 อิกฺขณิกา แม่มด, หญิงทรงเจ้า

- สุภาสุภสฺส อิกฺขณํ นิรูปนํ ยสฺสาตฺถีติ อิกฺขณิกา
ผู้มีวิธีดูโชคดีและโชคร้าย (อิกฺขณ+อิ+ก)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

12 อิกฺก, อิก อิจ หมี

- อิจตีติ อิกฺโก
สัตว์ที่ชอบส่งเสียง
(อิจ ธาตุในความหมายว่าส่งเสียง
อ ปัจจัย, แปลง จ เป็น ก, ซ้อน กฺ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

13 อาฬฺหก หน เสา, เสาตะลุง, เสาผูกช้าง, ทะนาน, กระเชอ, เครื่องตวงจุ ๔ ทะนาน

- อาหนนฺติ พนฺธนฺติ อสฺมึ อเนน วาติ อาฬฺหโก
ที่เป็นที่ผูกช้างหรือเป็นเครื่องผูกช้าง
(อา บทหน้า หน ธาตุในความหมายว่าผูก
ณฺวุ ปัจจัย, แปลง นฺ เป็น ฬฺ, กลับ หฬฺ เป็น ฬฺห, แปลง ณฺวุ เป็น อก)

- อาหนนฺติ เอตฺถาติ อาฬฺหกํ
ภาชนะเป็นที่เบียดเบียน คือใช้เป็นเครื่องโกงได้
(อา บทหน้า หน ธาตุในความหมายว่าเบียดเบียน
ณฺวุ ปัจจัย, แปลง นฺ เป็น ฬฺ, กลับ หฬฺ เป็น ฬฺห, แปลง ณฺวุ เป็น อก)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

14 อาฬี, อาฬิ แมงป่อง

- อาฬํ วิจฺฉิกนงฺคลํ, ตํโยคา อาฬี
ผู้มีหางแมงป่อง (อาฬ+อี)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

15 อาฬาหน, อาฬหน ทห ป่าช้า, ที่เผาศพ

- อาคนฺตฺวา ทหนฺติ เอตฺถาติ อาฬาหนํ
ที่เป็นที่มาเผา
(อา บทหน้า ทห ธาตุในความหมายว่าเผา
ยุ ปัจจัย, ทีฆะ อ เป็น อา, แปลง ท เป็น ฬ, ยุ เป็น อน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

16 อาฬาริก พ่อครัว

- อฬาโร นาม สูปาทิวิกติ,
ตํ กโรตีติ อาฬาริโก

ผู้ทำกับข้าวต่างชนิดมีแกงเป็นต้น
(อฬาร+ณิก, พฤทธิ์ อ เป็น อา)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

17 อาฬวี เมืองอาฬวี (เมืองหลวงของแคว้นอาฬวี)

- อลํ ภูสนเมตฺถาติ อาฬวี
เมืองที่มีการประดับประดา
(อล บทหน้า อว ปัจจัย อี อิตฺ., พฤทธิ์ อ เป็น อา,
แปลง ล เป็น ฬ, ลบสระหน้า)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

18 อาหาว หุ รางน้ำดื่มของปศุสัตว์

- อาหุยฺยนฺเต ปสโว ปานาย อตฺราติ อาหาโว
ที่เป็นที่ส่งเสียงเพื่อดื่มน้ำของปศุสัตว์
(อา บทหน้า หุ ธาตุในความหมายว่าส่งเสียง
ณ ปัจจัย, พฤทธิ์ อุ เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

19 อาหาร หร อาหาร, ของกิน, เหตุ, ปัจจัย

- อาหรติ พลายูนีติ อาหาโร
สิ่งที่นำมาซึ่งกำลังและอายุ
(อา บทหน้า หร ธาตุในความหมายว่านำไป ณ ปัจจัย, ทีฆะ อ เป็น อา)

- โอชฏฺฐมกํ รูปํ อาหรตีติ อาหาโร
สิ่งที่นำมาซึ่งรูปกาย
(เหมือนวิ.ต้น)

- อตฺตโน ผลํ อาหรตีติ อาหาโร
สิ่งที่นำมาซึ่งผลของตน
(อา บทหน้า หร ธาตุในความหมายว่านำไป
ณ ปัจจัย, พฤทธิ์ อ เป็น อา)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

20 อาหวนีย หุ ไฟ คือมารดาบิดา

- หุตพฺพคฺคิอาหวนํ อรหตีติ อาหวนีโย
ผู้ควรแก่เครื่องบูชาไฟที่นำมาบูชา
(อาหว+อนีย)

- อาทเรน หวนํ ทานํ อรหตีติ อาหวนีโย
ผู้ควรแก่ของที่ให้ด้วยความเอื้อเฟื้อ
(อา บทหน้า หุ ธาตุในความหมายว่าให้
อนีย ปัจจัย, พฤทธิ์ อุ เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อว)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

หนังสือสวดมนต์ข้ามปี