ศัพท์บาลี

ตารางคำศัพท์ในระบบ ปัจจุบันมีจำนวน 621 คำ

No. คำบาลี ธาตุ คำแปล สาระเพิ่มเติม
1 อนีก, อณีก อณ กองทัพ, เสนา

อณตีติ อนีโก, อนีกํ
หมู่คนที่ส่งเสียงดัง
(อณ ธาตุในความหมายว่าส่งเสียง
อีก ปัจจัย, แปลง ณ เป็น น)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

2 อนิลปถ ฟ้า, ท้องฟ้า, กลางหาว

- อนิลสฺส วาตสฺส ปโถ อนิลปโถ
ทางแห่งลม (อนิล+ปถ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

3 อนิล อน ลม

- อนติ ชีวติ อเนนาติ อนิโล
สิ่งเป็นเหตุให้มีชีวิตอยู่
(อน ธาตุในความหมายว่ามีชีวิต อิล ปัจจัย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

4 อนิมิสา มิส ผู้ไม่กะพริบตา

- น นิมิสนฺตีติ อนิมิสา
ผู้ไม่กะพริบตา
(น+นิ บทหน้า มิส ธาตุในความหมายว่ากะพริบตา
อ ปัจจัย, แปลง น เป็น อ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

5 อนิพฺพิทฺธ วิธ ทางตัน, ทางสุด

- น นิพฺพิชฺฌเต รจฺฉนฺตเรนาติ อนิพฺพิทฺโธ
ทางที่ไม่ทะลุไปทางสายอื่น
(น+นิ บทหน้า วิธ ธาตุในความหมายว่าแทงตลอด
ต ปัจจัย, แปลง น เป็น อ, วฺ เป็น พฺ, ซ้อน พฺ, แปลง ต กับ ธ เป็น ทฺธ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

6 อนาลย อนาลัย, พระนิพพาน

- นตฺถิ อาลโย ตณฺหา เอตฺถาติ อนาลยํ
ธรรมเป็นที่ไม่มีอาลัยคือตัณหา
(น+อาลย, แปลง น เป็น อน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

7 อนารต รมุ เที่ยง, แน่นอน, ประจำ, เป็นนิจ

- น อารมตีติ อนารตํ
สิ่งที่ไม่เว้น
(น+อา บทหน้า รมุ ธาตุในความหมายว่ายินดี
ต ปัจจัย, แปลง น เป็น อน, ลบสระหน้าและ มฺ ที่สุดธาตุ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

8 อนามิกา นิ้วนาง

- นตฺถิ นามเมตสฺสาติ อนามิกา
นิ้วที่ไม่มีชื่อ (น+นาม+อิก+อา)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

9 อนาถปิณฺฑิก อนาถบิณฑิกคฤหบดี, อนาถบิณฑิกเศรษฐี

- สพฺพกาลํ อุปฏฺ€ปิโต อนาถานํ ปิณฺโฑ เอตสฺส อตฺถีติ อนาถปิณฺฑิโก
ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถาที่เข้าไปตั้งไว้ตลอดเวลา
(อนาถ+ปิณฺฑ+อิก)

- นิจฺจกาลํ อนาถานํ ปิณฺฑํ ททาตีติ อนาถปิณฺฑิโก
ผู้ให้ก้อนข้าวแก่คนอนาถาเป็นประจำ
(อนาถ+ปิณฺฑ+อิก)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

10 อนวรต รมุ เที่ยง, แน่นอน, ประจำ, เป็นนิจ

- น อวรมตีติ อนวรตํ
สิ่งที่ไม่เว้น
(น+อว บทหน้า รมุ ธาตุในความหมายว่ายินดี
ต ปัจจัย, แปลง น เป็น อน, ลบสระหน้า และ มฺ ที่สุดธาตุ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

11 อนวชฺช วท ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ตำหนิ, ไม่เลว, ไม่ต่ำช้า

- ชาตฺยาจาราทีหิ นิหีโนยนฺติ น อวทิตพฺโพติ อนวชฺโช
ผู้ไม่ควรถูกดูหมิ่นว่าเป็นคนเลวโดยชาติกำเนิดและความประพฤติเป็นต้น
(น+อ บทหน้า วท ธาตุในความหมายว่าพูด ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, แปลง น เป็น อน, ทฺย เป็น ชฺช)

- น อวชฺชํ อนวชฺชํ
ไม่เลว
(น+อวชฺช, แปลง น เป็น อน)
(ตพฺภาวตฺโถ เจตฺถ อกาโร - อ อักษรในคำนี้มีอรรถเป็นตัพภาวะคือไม่มีความหมายพิเศษอะไร เหมือน ก สกรรถ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

12 อนล อน ไฟ

- อนติ ชีวติ อเนนาติ อนโล
สิ่งเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต
(อน ธาตุในความหมายว่ามีชีวิตอยู่ อล ปัจจัย)

- อนนฺติ ปาเลนฺติ อเนนาติ อนโล
สิ่งเป็นเครื่องปกป้อง
(อน ธาตุในความหมายว่าปกป้อง, รักษา อล ปัจจัย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

13 อนภิรทฺธิ รมุ ความปองร้าย, ความไม่พอใจ

- ปรสมฺปตฺตีสุ นาภิรมตีติ อนภิรทฺธิ
กิริยาที่ไม่พอใจในความถึงพร้อมของผู้อื่น
(น+อภิ บทหน้า รมุ ธาตุในความหมายว่ายินดี,พอใจ
ติ ปัจจัย, แปลง น เป็น อน, มฺ เป็น ทฺ, ตฺ เป็น ธฺ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

14 อนนฺต อนันตนาคราช

- เทเวหิปฺยสฺสนฺโต โนปลทฺโธติ อนนฺโต
ผู้มีที่สุดที่แม้เทวดาก็ไม่ได้คือเป็นผู้มีชีวิตไม่สิ้นสุด
(น+อนฺต, แปลง น เป็น อน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

15 อนธิวร พระพุทธเจ้า

- อจฺจนฺตวโร อธิวโร นาสฺส อตฺถีติ อนธิวโร
ผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า
(น+อธิวร, แปลง น เป็น อน)

- น ตโต อธิโก วโร อตฺถีติ อนธิวโร
ผู้ไม่มีผู้ยิ่งกว่านั้น
(น+อธิ+วร, แปลง น เป็น อน)

- นตฺถิ ตสฺส อธิวโรติ อนธิวโร
ผู้ไม่มีผู้ประเสริฐยิ่งกว่า (น+อธิวร)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

16 อน เกวียน, เลื่อน

- นตฺถิ นาสา อสฺสาติ อนํ
พาหนะที่ไม่มีจมูก คือไม่มีงอนเหมือนรถ
(น+นาสา, แปลง น เป็น อ, ลบ สา, รัสสะ อา เป็น อ, หรือแปลง นาสา เป็น น)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

17 อโธภุวน เมืองบาดาล, นาคพิภพ

- อโธ อธรํ ภุวนํ โลโก อโธภุวนํ
ภพเบื้องล่าง (อโธ+ภุวน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

18 อโธคม คมุ ลมพัดลงเบื้องต่ำ

- อุจฺจารปสฺสาวาทีนํ นีหรณวเสน อโธภาคํ คจฺฉตีติ อโธคโม
ลมที่เดินไปสู่ส่วนล่างโดยนำอุจจาระปัสสาวะออกไป
(อโธ บทหน้า คมุ ธาตุในความหมายว่าไป อ ปัจจัย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

19 อธีน, อธิน ทรัพย์, ผู้อาศัย, เป็นบ่าว, เป็นเจ้า, เป็นใหญ่

- อธิคโต อิโน ปภู อเนนาติ อธีโน
ผู้เป็นเหตุให้ถึงความเป็นใหญ่ (อธิ+อิน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

20 อธิวจน วจ ชื่อ, นาม

- อตฺเถน อธีนํ วจนํ อธิวจนํ
คำที่เป็นใหญ่โดยใจความ
(อธิ+วจน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

หนังสือสวดมนต์ข้ามปี